หน้าเว็บ

อ่านหนังสือคือประตูสู่โลกกว้าง



         ขึ้นชื่อว่า “หนังสือ” เชื่อแน่ว่าคงไม่มีใครกล้าปฏิเสธหรอกว่า หนังสือคือประตูนำเข้าสู่โลกรู้แจ้งเห็นจริง
ชาวนาผู้หนึ่งอยู่ไกล้โพ้นแห่งมหานครของชาติตน  แต่เขาสามารถรู้หลาย ๆสิ่งหลาย ๆอย่างเกี่ยวกับเมืองหลวงของเขา  หากเขาได้อ่านได้ศึกษาหนังสือเกี่ยวกับมหานครแห่งนั้น

         “หนังสือคือประตูสู่โลกกว้าง” คือนิยามแห่งสัจจะในยุคโลกาภิวัตน์
         คนแก่คนเกืท่านเคยอบรมสั่งสอนลูกหลานของท่านว่า “ถ้าอยากมีความรู้ ต้องหมั่นอ่านหนังสือหนังหา
ถ้าอยากมีวิชาให้หมั่นร่ำหมั่นเรียน”
 จากคำกล่าวนี้  ข้าพเจ้าใคร่ขอนำเอาคำกล่าวมาแยกชี้แนะให้เข้าใจแจ่มแจ้งแห่งความเป็นไปได้

          คำว่า “ถ้าอยากมีความรู้ต้องหมั่นอ่านหนังสือหนังหา” ตามปกติแล้วคนเราไม่ว่าใครก็ตามก็ย่อมรู้จักหนังสือ
และเคยอ่านหนังสือ แต่คนเราจะอ่านแต่เพียงหนังสือที่มีอยู่เพียงอย่างเดียวคงไม่พอแน่ เพราะฉะนั้นสิ่งที่น่าจะนำ
ไปสู่โลกกว้างอีกทางหนึ่งก็คือการอ่าน “หนังหา”  โดยข้าพเจ้าขอแยกแยะความหมายของคำว่า “หนังหา” ไว้ดังนี้
คือ หนังหาน่าจะมาจากคำว่า “หนังสือบวกกับคำว่าแสวงหา”  เมื่อหนังสือกับการแสวงหามารวมกันจึงเป็นหนังหา
ทีนี้เรามาดูความหมายของคำว่า “หนังสือหนังหา” กัน หนังสือหนังหา หมายถึง หนึงสือที่เราต้องการศึกษา
แล้วเราก็แสวงหามา เพื่อความรู้แจ้งเห้นจริงในสิ่งนั้น ๆ นั่นคือเราอยากทราบเรื่องอะไร ก็หาหนังสือเกี่ยวกับเรื่องนั้น
มาอ่านมาศึกษา  แล้วเราก้จะรู้ในสิ่งที่เราต้องการ  การหาหนังสือมาอ่านนั้นทุกวันนี้หาได้ง่ายมาก เช่น ซื้อจากร้าน
ขายหนังสือทั่ว ๆไป หรือถ้าไม่มีงบในการซื้อก็ไม่ยาก เพราะทุกวันนี้ห้องสมุดมีเป็นจำนวนมาก หรือหากไม่สามารถ
จะกระทำได้ตามที่กล่าว ข้าพเจ้าขอแนะนำแหล่งความรู้อีกแห่งหนึ่งที่เราสามารถจะไปหาได้โดยง่าย คือ คุณครู
ที่โรงเรียน  เจ้าหน้าที่เกษตร  เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ตำรวจ ฯลฯ บุคคลที่กล่าวมานี้ล้วนเป็นแหล่งความรู้ทั้งสิ้น
เมื่อเราเข้าถึงท่านได้ หนังสือดี ๆที่ท่านมีอยู่ ท่านคงไม่ปฏิเสธในความต้องการอยากเรียนรู้ของเราแน่ แล้วเราก็จะได้
เป็นผู้ที่ได้อ่านหนังสือหนังหาอย่างแท้จริง

      ส่วนคำว่า “ถ้าอยากมีวิชาให้หมั่นร่ำหมั่นเรียน” ตามความหมายก็คือการเรียนเป็นประจำนั่นเอง เมื่อดูตาม
ความหมายแล้ว การเรียนหนังสือจึงไม่เพียงแต่การเรียนในห้องเรียนเท่านั้น การเรียนที่ต่อเนื่องและประจำจึงน่าจะมีความเกี่ยวข้องกับ “การอ่านหนังสือ” ไปในตัวด้วย  ดังเช่นการเรียนหนังสืออยู่ที่บ้าน การเรียนของเราก็คือการอ่าน
นั่นเอง  การเรียนโดยการอ่านนั้นเราสามารถทำได้ในหลาย ๆสถานที่เหมือนกัน นอกจากการอ่านที่บ้านแล้ว
เราก็สามารถอ่านได้ตามที่สาธารณะทั่วไป เช่น เราเข้าไปในห้องน้ำห้องส้วมตามสถาบันการศึกา หรือโรงงานต่าง ๆ
เชื่อแน่ว่าต้องมีวรรณกรรมตามฝาผนังอย่างแน่นอน วรรณกรรมตามฝาผนังนั้น  ทำให้ผู้อ่านได้รู้กว้างเกี่ยวกับจิตใจ
ของผู้เขียนได้เป็นอย่างดี  เพราะวรรณกรรมเหล่านี้ จะเขียนจากความรู้สึกจริง ๆของผู้เขียน

         จากที่กล่าวมาข้างต้น ก็พอจะมองให้เราได้เห็นว่า การอ่านหนังสือนั้น ทำให้เราได้รับความรู้และประสบการณ์
ใหม่ ๆ การนำไปประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิตร่วมกันในสังคม สิ่งที่เราอ่านแล้วเห็นว่าดี เราก็นำไปประพฤติปฏิบัติ
สิ่งใดไม่ดีก็หลีกเลี่ยง  การอ่านหนังสือจะมีคุณค่าต่อชีวิตอย่างมากหากเราใช้ “ใจ”อ่านหนังสือ  ใช้ “ความคิด” วิเคราะห์สิ่งที่อ่าน ดังนั้นคำกล่าวที่ว่า “หนังสือคือประตูสู่โลกกว้าง” จึงเป็นคำกล่าวที่ใครจะปฏิเสธไม่ได้

           ข้าพเจ้ามีความเชื่อเช่นนี้จริง ๆ
แหล่งภาพประกอบ
www.sema.go.th
www.parents2child.com


กลับไปยังหน้าประวัติหลวงพ่อ (คลิ๊กที่ลิงค์ด้านหล่าง)
Web Tracker

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น